หน้าแรก
หัวบล็อก
ตัววิ่ง
วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุง นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
วัตถุประสงค์
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
10. เสนอแนวทางในการสร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง
รูปแบบการเรียนการสอน
เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) กับการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Learning)
วิธีสอน
ใช้วิธีสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) และวิธีสอนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning)
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารมสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 5 การออกแบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 7 คอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 8 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน
ตรงต่อเวลา
ประโยชน์ของการตรงต่อเวลา
1.ทำให้เรามีนิสัยขยันขันแข็ง เอาการเอางานอย่างจริงจัง
2.ฝึกให้เราเป็นคนกระตือรือร้น มี่ชีวิตชีวา
3.ทำให้เรามีความซื่อตรงต่อตัวเอง รักษาเกียรติยศของตนเอง
4.ทำให้เราทำงานได้สะดวก รวดเร็ว เรียบร้อยและมีผลดี
5.หน้าที่การงานประสบความสำเร็จ ชีวิตก้าวหน้า
6.สามารถกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราจะกระทำได้ในแต่ละวันทำให้ชีวิตมีระเบียบ และมีวินัยกับตนเอง
7.เป็นที่เชื่อถือ และไว้ใจของคนอื่น
โทษของการไม่ตรงต่อเวลา
1.กลายเป็นคนเกียจคร้าน คอยหาสาเหตุหลีกเลี่ยงงาน
2.เป็นคนผลัดวันประกันพรุ่ง
3.กิจกรรมหรือการงาน และชีวิตยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ
4.กลายเป็นคนไม่ซื่อตรงต่อตนเอง
5.ทำให้ผิดนัด กิจกรรมหรืองานเกิดความเสียหาย
6.ไม่เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น
บทความ
การตรงต่อเวลา เป็นหัวใจของกิจการทั้งปวง ยิ่งในวงธุรกิจใหญ่ ๆ การผิดเวลา มีผลให้เกิดความเสียหายใหญ่โต เฉพาะบุคคลแต่ละคน การตรงต่อเวลา เป็นเครื่องแสดงนิสัยใจคอ คนตรงต่อเวลามักเป็นคนเอาการเอางาน มีระเบียบ ไว้เนื้อเชื่อใจได้
ท่านหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล ทรงเล่าถึงเสด็จพ่อของท่านในหนังสือชีวิตและงานของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนหนึ่งว่า “การตรงต่อเวลาอย่างหนึ่ง ท่านทรงถือมาก ว่า ผู้ใดไม่ถือเวลาเป็นสำคัญ ผู้นั้นเป็นคนไม่มีหลัก เชื่อถือไม่ได้” คตินี้สำคัญนัก และควรใส่ใจอย่าง่ยิ่ง การฝึกตนให้เป็นคนตรงต่อเวลา เป็นทางแห่งความสำเร็จและความก้าวหน้า ผู้ที่เป็นใหญ่เป็นโตและเป็นคนสำคัญนั้น ไม่ใช่เป็นได้โดยการยกย่องหรือโดยการสืบตระกูล ตัวเองต้องปฏิบัติตนให้มีระเบียบ การฝึกตนให้ตรงต่อเวลา เป็นวิธีการฝึกระเบียบอย่างดียิ่ง วันหนึ่ง ๆ ท่านเคยมีกำหนดเวลา กิน นอน ทำงาน หรือเปล่า และได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดหรือเปล่า หากคำตอบของท่านว่า “ไม่” นั่นแสดงว่า ท่านยังห่างไกลกับความสำเร็จมากนัก
การหัดให้เป็นคนตรงต่อเวลานับเป็นคุณสมบัติดีเลิศประจำตัวอย่างหนึ่ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)