หัวบล็อก
ตัววิ่ง
วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุง นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
วัตถุประสงค์
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
10. เสนอแนวทางในการสร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง
รูปแบบการเรียนการสอน
เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) กับการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Learning)
วิธีสอน
ใช้วิธีสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) และวิธีสอนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning)
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารมสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 5 การออกแบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 7 คอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 8 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน
ตรงต่อเวลา
ประโยชน์ของการตรงต่อเวลา
1.ทำให้เรามีนิสัยขยันขันแข็ง เอาการเอางานอย่างจริงจัง
2.ฝึกให้เราเป็นคนกระตือรือร้น มี่ชีวิตชีวา
3.ทำให้เรามีความซื่อตรงต่อตัวเอง รักษาเกียรติยศของตนเอง
4.ทำให้เราทำงานได้สะดวก รวดเร็ว เรียบร้อยและมีผลดี
5.หน้าที่การงานประสบความสำเร็จ ชีวิตก้าวหน้า
6.สามารถกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราจะกระทำได้ในแต่ละวันทำให้ชีวิตมีระเบียบ และมีวินัยกับตนเอง
7.เป็นที่เชื่อถือ และไว้ใจของคนอื่น
โทษของการไม่ตรงต่อเวลา
1.กลายเป็นคนเกียจคร้าน คอยหาสาเหตุหลีกเลี่ยงงาน
2.เป็นคนผลัดวันประกันพรุ่ง
3.กิจกรรมหรือการงาน และชีวิตยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ
4.กลายเป็นคนไม่ซื่อตรงต่อตนเอง
5.ทำให้ผิดนัด กิจกรรมหรืองานเกิดความเสียหาย
6.ไม่เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น
บทความ
การตรงต่อเวลา เป็นหัวใจของกิจการทั้งปวง ยิ่งในวงธุรกิจใหญ่ ๆ การผิดเวลา มีผลให้เกิดความเสียหายใหญ่โต เฉพาะบุคคลแต่ละคน การตรงต่อเวลา เป็นเครื่องแสดงนิสัยใจคอ คนตรงต่อเวลามักเป็นคนเอาการเอางาน มีระเบียบ ไว้เนื้อเชื่อใจได้
ท่านหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล ทรงเล่าถึงเสด็จพ่อของท่านในหนังสือชีวิตและงานของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนหนึ่งว่า “การตรงต่อเวลาอย่างหนึ่ง ท่านทรงถือมาก ว่า ผู้ใดไม่ถือเวลาเป็นสำคัญ ผู้นั้นเป็นคนไม่มีหลัก เชื่อถือไม่ได้” คตินี้สำคัญนัก และควรใส่ใจอย่าง่ยิ่ง การฝึกตนให้เป็นคนตรงต่อเวลา เป็นทางแห่งความสำเร็จและความก้าวหน้า ผู้ที่เป็นใหญ่เป็นโตและเป็นคนสำคัญนั้น ไม่ใช่เป็นได้โดยการยกย่องหรือโดยการสืบตระกูล ตัวเองต้องปฏิบัติตนให้มีระเบียบ การฝึกตนให้ตรงต่อเวลา เป็นวิธีการฝึกระเบียบอย่างดียิ่ง วันหนึ่ง ๆ ท่านเคยมีกำหนดเวลา กิน นอน ทำงาน หรือเปล่า และได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดหรือเปล่า หากคำตอบของท่านว่า “ไม่” นั่นแสดงว่า ท่านยังห่างไกลกับความสำเร็จมากนัก
การหัดให้เป็นคนตรงต่อเวลานับเป็นคุณสมบัติดีเลิศประจำตัวอย่างหนึ่ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)